Hackathon onsite: Sustainnovation in Action
3 วัน 2 คืน กับกิจกรรมสุดมันส่งท้ายคลาส
ที่เรียนกันมา 2 เดือนเต็ม “Sustainnovation in Action”
“สอนให้รู้ ทำให้ดู อยู่ให้เห็น”
⚠️ โลกยุคเกษตรกรรม ตัดสินผู้ชนะกันที่
อาวุธและกำลังในการรบ ที่เรียก “ปลาหนุ่มกินปลาแก่”
⚠️ โลกยุคอุตสาหกรรม ตัดสินผู้ชนะกันที่
กำลังเงิน ที่เรียก “ปลาใหญ่กินปลาเล็ก”
⚠️ โลกยุคอินเตอร์เน็ต ตัดสินผู้ชนะกันที่
ข้อมูลและความเร็วที่เรียก “ปลาเร็วกินปลาช้า”
⚠️ แต่โลกหน้า… จะตัดสินผู้ชนะกันที่ความจริงที่เรียก
“ปลาจริงกินปลาปลอม”
Sustainnovation in Action หลักสูตรนี้ จึงเป็นการนำ “คนทำจริง” ในแต่ละด้านของ SDGs อาชีพแห่งอนาคตมาถ่ายทอด แบ่งปันกันให้เกิดความเข้าใจ และเกิดความซึ้งใจกับ “ปลาจริง” อย่างถ่องแท้ เพื่อก้าวขึ้นเป็นผู้นำ และความสำเร็จ
การเดินทางครั้งสุดท้าย ของผู้เข้าร่วมหลักสูตร เริ่มต้นจากการทัศนศึกษาดูงาน เป้าหมายที่ 15 ปกป้อง ฟื้นฟู และสนับสนุนการใช้ระบบนิเวศบนบกอย่างยั่งยืน ณ โครงการชั่งหัวมัน ตามพระราชดำริ (พ.ศ. 2552)

โครงการชั่งหัวมัน เกิดขึ้นเพื่อให้เป็นแหล่งรวบรวมพันธุ์พืชเศรษฐกิจ พืชพันธุ์ดีของอำเภอท่ายาง และของจังหวัดเพชรบุรี รวมทั้งเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการเกษตรแก่เกษตรกร และที่สำคัญคือ เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทำแปลงหรือมาช่วยงานพระองค์
ซึ่งตอบโจทย์ SDG เป้าหมายที่ 15 ปกป้อง ฟื้นฟู และสนับสนุนการใช้ระบบนิเวศบนบกอย่างยั่งยืนอย่างแท้จริง
“…คนที่ไปดูก็เห็นได้ว่า เริ่มต้นด้วยไม่มีอะไรเลย แต่ว่าต่อมาภายในวันเดียว ทุกคนในท้องที่นั้นก็เข้าใจว่าต้องช่วยกัน และยิ่งในสมัยนี้ในระยะนี้ เราต้องร่วมมือกันทำเพราะว่าถ้าไม่มีการร่วมมือกันก็ไม่ก้าวหน้า ไม่มีความก้าวหน้า ฉะนั้นการที่ท่านได้ทำแล้วมีความก้าวหน้านี้ เป็นสิ่งที่ดีมาก หลักการก็อยู่ที่ทุกคนต้องช่วยกันเสียสละ เพื่อให้กิจการในท้องที่ก้าวหน้าไปด้วยดี ก้าวหน้าได้อย่างไร ก็ด้วยการช่วยเหลือกัน แต่ก่อนนั้นเคยเห็นว่ากิจการที่ทำ มีกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งทำ แล้วก็ทำให้ก้าวหน้า แต่อันนี้มันไม่ใช่กลุ่มหนึ่งมันทั้งหมด ร่วมกันทำและก็มีความก้าวหน้าแน่นอน อันนี้เป็นสิ่งที่มหัศจรรย์ และเป็นสิ่งที่ทำให้มีความหวัง มีความหวังว่า ประเทศชาติจะก้าวหน้า ประเทศชาติจะมีความสำเร็จ…”
พระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
พระองค์ทรงให้โครงการนี้เป็นแบบอย่างของความสำเร็จที่เกิดขึ้นจากความสามัคคีร่วมมือกันของหลายฝ่าย ดังพระราชดำรัส ที่ทรงพระราชทานให้แก่คณะผู้เข้าเฝ้า ถวายสิทธิบัตรฝนหลวง ณ พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2551



ก่อนจะปิดท้ายทริปด้วย เป้าหมายที่ 16 ส่งเสริมสังคมที่สงบสุขและครอบคลุมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ให้ทุกคนเข้าถึงความยุติธรรม และสร้างสถาบันที่มีประสิทธิผล รับผิดชอบ และครอบคลุมในทุกระดับ ณ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงเรือนจำชั่วคราวเขากลิ้ง


ดำเนินการฝึกอบรมและฝึกวิชาชีพให้กับผู้ต้องขัง ด้านการปลูกสร้างสวนป่า เกษตรกรรมและเลี้ยงสัตว์ ศูนย์เตรียมความพร้อมก่อนปล่อยควบคุมผู้ต้องขังที่ต้องโทษครั้งแรกใกล้พ้นโทษ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนานิสัยผู้ต้องขังตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงคืนคนดีมีคุณค่าสู่สังคม


เรือนจำชั่วคราวเขากลิ้งเชื่อว่า เศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวปรัชญาที่ทุก ๆ คนสามารถนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้ไม่ว่าจะเป็นตัสท่านเอง นักเรียน เกษตรกร ข้าราชการ และประชาชนทั่วไป ตลอดจน บริษัท ห้างร้าน สถาบันต่าง ๆ ทั้งนอกภาคการเกษตร และในภาคการเกษตร สามารถนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงดังกล่าวไปปฏิบัติเพื่อดำรงชีวิตและพัฒนาธุรกิจการค้าได้จริง





ก่อนจะมุ่งหน้าสู่โรงแรม grand pacific sovereign resort & spa สถานที่จัดแฮกกาธอนในครั้งนี้ พร้อมกับความลุ้น และตื่นเต้นที่ยังไม่มีใครทราบโจทย์ ก่อนจะเซอร์ไพรส์เมื่อทราบว่า ทุกทีมต้องพัฒนา “ขนมหม้อแกง” ของดีเมืองเพชรบุรี ให้ตอบโจทย์ SDGs ให้มากที่สุด

ซึ่งได้รับเกียรติจาก คุณสุพจน์ เพชราภิรัชต์ เจ้าของร้านบ้านขนมนันทวัน จ.เพชรบุรี ประธานกิตติมศักดิ์ หอการค้าจังหวัดเพชรบุรี (อดีตประธานหอการค้าจังหวัดเพชรบุรี) เมตตามาเป็น Commetator กิติมศักดิ์ พร้อมทั้งเล่าประวัติความเป็นมา ที่สามารถเป็นตัวอย่างและสร้างแรงบันดาลใจในการทำธุรกิจอย่างยั่งยืนได้เป็นอย่างดี

เก็บตกภาพบรรยากาศการทำกิจกรรม










































